เมนู

อานิสงส์ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล 5
ประการนี้.
จบ นันทกสูตรที่ 4

อรรถกถานันทกสูตรที่ 4


นันทกสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุปฏฺฐานสาลายํ ได้แก่ หอฉัน. บทว่า เยนุปฏฺฐานสาลา
ความว่า พระศาสดาสดับเสียงการแสดงธรรมอันพระนันทกเถระ
เริ่มแล้วด้วยเสียงอันไพเราะ จึงตรัสถามว่า อานนท์ นั่นใครแสดง
ธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ ในอุปัฏฐานศาลา ทรงสดับว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญวันนี้เป็นวาระของพวกนันทกเถระผู้เป็นธรรมกถึก
ได้ตรัสว่า อานนท์ ภิกษุนั่นแสดงธรรมไพเราะยิ่งนัก แม้เราจักไป
ฟังดังนี้ จึงเสด็จเข้าไปยังอุฏฐานศาลา. บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา
พหิทฺวารโกฏฺฐเก อฏฺฐาสิ
ได้แก่ ทรงปิดบังฉัพพัณณรังสีไว้ในกลีบ
จีวรแล้ว ประทับยืนด้วยเพศที่ควรไม่รู้จัก. บทว่า กถาปริโยสานํ
อาคมยมาโน
ความว่า ประทับยืนฟังธรรมกถาอยู่ถึงกถาสุดท้ายนี้ว่า
อิทมโวจ ดังนี้. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ได้ทูลถวายสัญญาแด่
พระศาสดาเมื่อเลยปฐมยามไปแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฐม-
ยามล่วงไปแล้ว พระองค์ทรงพักผ่อนสักหน่อย ดังนี้. พระศาสดา
ประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล ครั้นต่อมา เมื่อเลยมัชฌิมยามไปแล้ว
ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ทรงเป็นขัตติยสุขุมาลชาติโดยปกติ ทรงเป็นพุทธสุขุมาลชาติ ทรงเป็น

สุขุมาลชาติอยางยิ่ง แม้มัชฌิมยามก็ล่วงไปแล้ว ขอจงทรงพักผ่อน
สักครู่เถิดดังนี้. พระศาสดาประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง. รุ่งอรุณ
ปรากฏแล้วแก่พระศาสดาพระองค์นั้น ผู้ทรงประทับยืนอยู่นั่นแล.
อรุณขึ้นก็ดี การจบกถาถึงบทว่า อิทมโวจ ของพระกถาก็ดี การ
เปล่งฉัพพรรณรังสีของพระทศพลก็ดี ได้มีคราวเดียวกันนั่นเอง.
บทว่า อคฺคฬํ อาโกเฏสิ ได้แก่ ทรงเอาปลายพระนขา เคาะ
บานประตู.
บทว่า สารขฺชายมานรูโป ได้แก่ ระอา เกรงกลัว หวาดหวั่น
ส่วนพระนันทกเถระนั้น ไม่มีความหวาดสะดุ้งด้วยความเสียใจ.
บทว่า เอตฺตกํปิ โน นปฺปฏิภาเสยฺย ความว่า ผู้ได้ปฏิสัมภิทา ชื่อว่า
หมดปฏิภาณ ย่อมไม่มี. แต่ท่านแสดงว่า เราไม่พึงกล่าวคำประมาณ
เท่านี้. บทว่า สาธุ สาธุ ได้แก่ ทรงร่าเริงกับการแสดงธรรมของ
พระเถระ จึงได้ตรัสแล้ว. ก็ในข้อนี้มีความหมายดังนี้ว่า ธรรมเทศนา
ท่านถือเอาความได้ดี และแสดงได้ดีแล้วดังนี้. บทว่า กุลปุตฺตานํ
ได้แก่ กุลบุตรมีมรรยาท และกุลบุตรมีชาติตระกูล. บทว่า อรโย วา
ตุณฺหีภาโว
ได้แก่ ตรัสหมายเอาสมาบัติในทุติยฌาน.
บทว่า อธิปญฺญธมฺมวิปสฺสนาย ได้แก่ วิปัสสนาญาณ
กำหนดสังขาร. บทว่า จุตปฺปาทโก ได้แก่เปรียบเหมือนสัตว์มี ม้า
โค และลาเป็นต้น. บทว่า อิทํ วตฺวา ได้แก่ ตรัสธรรมนี้ประกอบ
ด้วยองค์ 4. บทว่า วิหารํ ปาวิสิ ได้แก่ เสด็จเข้าไปสู่พระคันธกุฏี.
บทว่า กาเลน ธมฺมสฺสวเน ได้แก่ ในการฟังธรรมตามกาละ.
บทว่า ธมฺมสากจฺฉาย ได้แก่ ในการกล่าวถามกัน. บทว่า คมฺภีรํ

อตฺถปทํ ได้แก่ อรรถที่ลุ่มลึก คือ ลี้ลับ. บทว่า ปญฺญาย ได้แก่
มรรคปัญญาพร้อมด้วยวิปัสสนา ปัญญาที่รู้แจ้งแทงตลอดด้วยการ
พิจารณาก็ดี ปัญญาที่เกิดแต่การเยนและการสอบถามก็ดี ย่อม
ควรทั้งนั้น. บทว่า ปตฺโต วา คจฺฉติ วา ความว่า เขาย่อมสรรเสริญ
ด้วยความสรรเสริญคุณอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือจักบรรลุ
อรหัตดังนี้. บทว่า อปฺปตฺตมานสา ได้แก่ ชื่อว่า อปฺปตฺตมานสา
เพราะยังไม่บรรลุอรหัต หรือพวกภิกษุเหล่านั้นมีใจยังไม่บรรลุ
อรหัตดังนี้ก็มี. ในบทว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารํ นี้ ได้แก่ ธรรมเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ทั้งโลกิยะ ทั้งโลกุตตระ ย่อมควร.
จบ อรรถกถานันทกสูตรที่ 4

5. พลสูตร


ว่าด้วยกำลัง 4 กับภัย 5


[209] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง 4 ประการนี้ 4 ประการ
เป็นไฉน คือ กำลัง คือ ปัญญา 1 กำลัง คือ ความเพียร 1 กำลัง
คือ การงามอันไม่มีโทษ 1 กำลัง คือ การสงเคราะห์ 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ปัญญาเป็นไฉน ธรรม
เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น
อกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ ธรรมเหล่าใดไม่มีโทษ
นับว่าไม่มีโทษ ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดขาว
นับว่าขาว ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ธรรม
เหล่าใดควรเสพ นับว่าควรเสพ ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความ
เป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถทำความเป็นอริยะ ธรรมเหล่าใด
สามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าสามารถทำความเป็นพระอริยะ
ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันบุคคลเห็นแจ้ง ประพฤติได้ด้วยปัญญา
นี้เรียกว่ากำลัง คือ ปัญญา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ ความเพียรเป็นไฉน ธรรม
เหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล ธรรมเหล่าใดมีโทษ นับว่ามีโทษ
ธรรมเหล่าใดดำ นับว่าดำ ธรรมเหล่าใดไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ
ธรรมเหล่าใดไม่สามารถทำความเป็นพระอริยะ นับว่าไม่สามารถ
ทำความเป็นพระอริยะ บุคคลยังฉันทะให้เกิด พยายามปรารภ
ความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่าใด